เมนู

ฆฏิการปัญหา ที่ 6


ราชา อาห

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการถามปัญหาอื่นอีกภนฺเต
นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์มีพระพุทธฎีกา
ตรัสประทานไว้ว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุทั้งหลาย เรือนนายช่างหม้อผู้หนึ่งนั้น รื้อหลังคาเสีย
หลังคาเป็นอากาศเปล่าอยู่ประมาณไตรมาสสามเดือน ในภายในวัสสันตฤดู ฝนตกลงมาจะได้
ถูกต้องหามิได้ ปุน จ ภณิตํ ครั้นมาอีกใหม่เล่า สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้ามีพระพุทธฎีกาตรัสว่า
ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุทั้งหลาย พระกุฎีของสมเด็จพระกัสสปสัพพัญญูเจ้า โอวสฺสติ ฝนตกต้องรั่ว
รดลงได้ ธรรมดาว่าอานุภาพของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว ก็ประพฤติเป็นไปสมดังพระ
ทัยพระพุทธองค์ทรงปรารถนา นี้แหละ สมเด็จพระมหากรุณาเจ้าของเรามีพระพุทธฎีกาประภาษ
เป็นสอง โยมพิเคราะห์ดูไม่ต้องกันเลย พระผู้เป็นเจ้า ตกว่าถ้าพระพุทธานุภาพนี้ประเสริฐจริง
ทำไมวาสนาช่างหม้อนั้นจึงยิ่งไปกว่า นายช่างหม้อจะมีวาสนาประเสริฐกว่าพระพุทธานุภาพที
เดียวหรือ จะเชื่อเอาพระพุทธฎีกาก่อนก็จะผิด อยํ ปญฺโห อันว่าปริศนานี้ อุภโต โกฏิโก
เป็นสองเงื่อนอยู่ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ฆฏิการบุรุษเป็นช่างปั้นหม้อ เรือน
ไม่มีหลังคา ฝนฟ้าและน้ำค้างไม่ตกต้องเป็นอัศจรรย์อันยิ่ง ส่วนพระกุฎีของสมเด็จพระกัสสป-
สัพพัญญูนั้นฝนรั่วรดได้ พระพุทธฎีกานี้ตรัสจริงอยู่ แต่ทว่าฆฏิการช่างหม้อนั้น สีลวา มีศีลห้า
รักษาเป็นนิจศีลมิได้ด่างพร้อย แล้วมิหนำซ้ำรักษาศีลแปดเป็นอุโบสถศีลด้วย กลฺยาณธมฺโม
มีกัลยาณธรรมประพฤติธรรมอันชอบ อุสฺสนฺนกุสลมูโล ประกอบด้วยกุศลมุลอันหนาแน่น
อุตสาหะปรนิบัติบิดามารดาซึ่งมีจักษุมืดมัวมองไม่เห็น อยู่มาวันหนึ่ง ฆฏิการช่างหม้อนั้นไม่อยู่
มีผู้มารื้อเอาหลังคาไปมุงกุฎีของสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้า โดยมิได้บอกให้ช่างหม้อนั้นรู้ แต่
นายช่างหม้อนั้นเป็นคนมีศรัทธาเลื่อมใส จะได้เสียอกเสียใจสอดแคล้วกินแหนงอย่างไรหามิได้
กลับปีติโสมนัสชื่นชมยินดีในกุศลนั้น เพราะฉะนั้นเข้าจึงได้อานิสงส์ เสวยวิบากผลในปัจจุบัน
เห็นทันตา เป็นทิฏฐธัมมเวทนีย์ ฝนนั้นค้างแดดลมมิได้ถูกต้องหลังคาเรือน เหมือนมุงขึ้นไว้ให้ดี
เป็นอัศจรรย์ดังนี้ ใช่ว่าฆฏิการช่างหม้อนั้นจะมีอานุภาพยิ่งไปกว่าพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
หามิได้ มหาราช ขอถวายพระพร สมเด็จพระไตรโลกนาถจะรู้หวาดไหววิการไปด้วยอันตราย
คือฝนฟ้าแดดลมน้ำค้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งเป็นธรรมดาหามิได้ สิเนรุราชา วิย เปรียบดุจเขาสิเนรุ-
ราช พายุใหญ่จะฟัดฟาดให้มากกว่าแสนกว่าหมื่นกว่าพัน น จลติ เขาสิเนรุราชนั้นก็มิได้รู้

หวาดหวั่น สาคโร วิย ถ้ามิฉะนั้นดุจหนึ่งว่ามหาสาครที่มีห้วงอันลึก แม้ว่าคงคาจะไหลมา
มากกว่าแสนก็บ่ห่อนรู้เต็มรู้วิการไป ยถา มีครุวนาฉันใด ตถาคโต สมเด็จพระศรีสรรเพชญพุทธเจ้า
นั้น จะได้วิการไปด้วยอันตรายต่าง ๆ คือน้ำค้างน้ำฝนแดดลมหามิได้ อุปไมยเหมือนเขาสิเนรุราช
และชาติมหาสมุทรอันใหญ่นั้น ฆฏิการช่างหม้ออะไรจะมามีบุญวาสนา ปูนปานสมเด็จพระ
กัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เล่า
ประการหนึ่ง ที่สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์จะมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า พระกุฎี
ของสมเด็จพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้ารั่วได้นั้น เป็นด้วยสมเด็จพระกัสสปสัมมาสัมพุทธ-
เจ้านั้นทรงพระดำริไปตามพระพุทธประเพณี ด้วยว่าสมเด็จพระชินสีห์เจ้าอันได้ตรัสรู้แล้ว เสด็จ
เข้าสู่ปถโมกข์มหานิพพานล่วงลับไปแล้วทุก ๆ พระองค์นั้น ย่อมประพฤติให้เป็นประโยชน์ 2
ประการ คือจะให้มนุษย์นิกรชนทั้งหลายได้มีโอกาสถวายจตุปัจจัย เพื่อเป็นมูลค่าหรือแสวง
หาต้นหญ้าและใบไม้มากระทำถวายพระองค์ อันเป็นกุศลยังสัตว์ให้พ้นไปจากทุคติภูมิประการ 1
คือจะมิให้ผู้ใดใครผู้หนึ่งล่วงเข้ามานินทาติเตียนพระองค์ว่า พระองค์เจ้าแสดงปาฏิหาริย์
หาเครื่องเลี้ยงชีวิตนทรีย์ ไม่เป็นกิจอันสมควรประการ 1 เพราะเหตุฉะนี้ สมเด็จพระมหา
มุนีบรมกัสสปสัมพุทธเจ้า จึงไม่ทรงกระทำปาฏิหาริย์บันดาลให้พระกุฎีหายรั่วกลับคืนดี
ด้วยพระพุทธานุภาพ ใช่ว่าพระกุฎีของพระองค์เจ้านั้นจะรั่วโดยพระองค์ไม่สามารถจะบันดาล
ให้หายเป็นปรกตินั้นหามิได้
มหาราช ขอถวายพระพร ประการหนึ่ง ถ้าแลว่าสมเด็จอรินทราธิราชก็ดี ท้าวมหา
พรหมก็ดี หรือสมเด็จพระกัสสปเจ้าเองก็ดี จะพึงเนรมิตบันดาลพระกุฎีนั้นให้หายรั่ว ก็จะประ
กอบด้วยโทษ เป็นเหตุให้มหาชนกล่าวข่มขี่แสร้งใส่ใกล้พระองค์ว่า สมเด็จพระสัพพัญญู
ทรงกระทำกรรมอันหยาบ ซึ่งเป็นโลกธรรม คือธรรมอันเป็นหน้าที่ของสัตว์โลกทั่วไป หา
สมควรแก่พระองค์ไม่ เหตุฉะนั้นไซร้ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกัสสปเจ้าจึงทรงงดไว้
ไม่ทรงกระทำให้หาย
ข้อหนึ่งเล่า สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงขอวัตถุสิ่งหนึ่งประการใด
ด้วยพระองค์มาทรงพระปริวิตกว่า แม้จะไม่มีวัตถุบริโภคใช้สอย ความเสื่อมอย่างไรจะพึงมีก็หา
มิได้ เหตุฉะนี้ พระกุฎีของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธบพิตร ฝนจึงรั่วรดได้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีได้ทรงฟังพระนาคเสนวิสัชนาฉะนี้ ก็มีน้ำพระทัยสิ้น
สงสัย สาธุการแก่พระนาคเสนดุจนัยที่วิสัชนามาแล้วแต่หลังนั้น
ฆฏิการปัญหา คำรบ 6 จบเพียงนี้

ภควโต ราชปัญหา ที่ 7


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยญาณปรีชาเฉลิมธีรชาติ สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์มี
พระพุทธฎีกาตรัสไว้ว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุทั้งหลาย ตถาคตนี้ พฺราหฺมโณ เป็นพราหมณ์ ยาจ-
โยโค
ประกอบขอทานทายกเลี้ยงชีวิต สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธบพิตรมีพระพุทธฎีกาตรัส
ดังนี้แล้ว ปุน จ ภณิตํ พระองค์กลับมีพระพุทธฎีกาตรัสประภาษอีกใหม่เล่าว่า ตถาคตเป็น
สมเด็จบรมกษัตริย์ทรงทศพิธราชธรรม นี่แหละพระพุทธฎีกาตรัสเป็นสองไม่ต้องกัน อยํ ปญฺโห
ปริศนานี้เป็นอุภโตโกฏิ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ผู้ประเสริฐ เดิมสมเด็จพระมหากรุณามีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ตถาคตนี้ พฺราหฺมโณ เป็นพราหมณ์
ยาจโยโค เที่ยวขอทานเลี้ยงชีวิต ด้วยเหตุที่พระพิชิตมารญาณสัพพัญญูบรมครูเจ้า ลอยบาป
มิให้ซึมซาบอยู่ในบวรพุทธสันดานเหมือนพราหมณ์เหมือนกัน พระองค์จึงบัญญัติพระนาม
พระองค์ชื่อว่าพราหมณ์
ประการหนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายย่อมทำลายเสียซึ่งวิมัติสงสัยของมหาชนทั้งปวงมิให้
สงสัยได้ ยถา ฉันใด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถศาสดาจารย์ ก็ตรัสพระสัทธรรมเทศนา
ทำลายเสียซึ่งวิมัติกังขาของมนุษย์นาคนิกรอินทร์พรหมยกยักษ์และหมู่อสูรให้สิ้นสงสัย
ดุจพราหมณ์ทั้งหลายฉันนั้น
ประการหนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายย่อมเป็นผู้สละภพและคติและกำเนิดพ้นจากมลทิน
และละอองธุลี เมื่อจะกระทำให้หมดมลทินทั้งหลายมิได้มีสหายเป็นสอง คือไปกระทำพิธีแต่ผู้
เดียวตามวิสัยฉันใด สมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้า ก็เป็นผู้สละภพและคติและกำเนิดทั้งปวงกำจัด
เสียซึ่งภพทั้ง 3 คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ ให้ขาดจากพระบรมพุทธสันดานทีเดียว มิได้
ปรารถนาที่ว่าจะท่องเที่ยวเกิดตายอยู่ในภายในภพทั้ง 3 นั้น เมื่อพระองค์บรรเทาประหาณซึ่ง
กิเลสให้ขาดเด็ดจากพระบวรพุทธสันดาน ก็ทรงกระทำพระมหาปธานวิริยะอยู่แต่ผู้เดียว ตั้ง
มัธยัสถ์พยายามเหมือนพราหมณ์ทั้งหลาย อันกระทำพิธีแต่ผู้เดียวฉันนั้น
ประการหนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายถือตัวว่า ทรงไว้ซึ่งทิพยวิหารธรรมอันประเสริฐเลิศล้น
เป็นอันมากฉันใด สมเด็จพระสัพพัญญูเข้าก็มากไปด้วยทิพยวิธรรมอันประเสริฐเลิศล้นเป็น
อันมาก มีครุวนาดุจพราหมณ์ทั้งหลายฉันนั้น
ประการหนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายย่อมถือการเรียนและสอนให้ผู้อื่นเรียนไตรเพทวิชา